นโยบาย
หน่วยบริการสุขภาพปฐมภูมิที่มีพื้นที่รับผิดชอบในระดับตำบล
-เน้นการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในระัดับบุคคล ครอบครัวและชุมชน
- พร้อมกับมีความสามารถในการให้บริการรักษาพยาบาลและการฟื้นฟูสมรรถภาพเพิ่มขึ้น
โดยเป็นเครือข่ายกับโรงพยาบาลชุมชน หรือ
โรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป และสามารถให้คำปรึกษา/ส่งต่อได้ตลอด 24 ชั่วโมง
ประชาชน
(มุมมองเชิงคุณค่า)
- ประชาชนมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพของตนเอง
- ชุมชนมีศักยภาพในการดูแลสุขภาพ ของประชาชนในชุมชนได้
- ประชาชนมีภาวะสุขภาพ และพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสม
กระบวนการ
(มุมมองเชิงบริหารจัดการ)
- มีองค์ความรู้นวัตกรรมเทคโนโลยี ที่ทันสมัย ตรงความต้องการของลูกค้า
- การถ่ายทอดองค์ความรู้ / เทคโนโลยี ที่มีมาตรฐานครอบคลุมกลุ่มเป้าหมาย
- มีระบบสารสนเทศที่ทันสมัยเข้าถึงได้ง่าย
- มีความสัมพันธ์ที่ดีกับภาคีเครือข่าย
ภาคีเครือข่าย
(มุมมองเชิงผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย)
- ภาคีเครือข่ายให้การสนับสนุน การดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพในพื้นที่
- องค์กรท้องถิ่นเห็นความสำคัญ และ ให้การสนับสนุนทรัพยากรในการส่งเสริมสุขภาพต่อชุมชนอย่างต่อเนื่อง
- มีเครือข่ายการดำเนินงานในชุมชน
พื้นฐาน
(มุมมองเชิงการเรียนรู้ และพัฒนา)
- ฐานข้อมูลมีประสิทธิภาพ
- องค์กรมีสมรรถนะสูง
1. กระทรวงสาธารณสุขควรปรับกระบวนทัศน์ให้บุคลากรสาธารณสุขเข้าใจหลักการส่งเสริมสุขภาพเพื่อให้โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพได้สอดคล้องกับบริบทของพื้นที่
2. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลประยุกต์ใช้แนวคิด และกระบวนการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพเพื่อการพัฒนาคุณภาพบริการ
3. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จัดกิจกรรมการส่งเสริมสุขภาพของ กลุ่มวัยต่าง ๆ เช่น คลินิกฝากครรภ์ คลินิกสุขภาพเด็กดี คลินิกวัยรุ่น คลินิก ไร้พุง คลินิกผู้สูงอายุ ควบคู่กับกิจกรรมพัฒนาชุมชน โดยชุมชนและท้องถิ่น มีส่วนร่วมพัฒนา จนเกิดมาตรการสังคมในชุมชน
4. โรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป และโรงพยาบาลชุมชน ทำงานร่วมกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล อย่างเป็นเครือข่าย ทั้งด้านการให้คำปรึกษาและการส่งต่ออย่างเป็นระบบ
5. การจัดสรรทรัพยากรควรปรับปรุง ให้สอดคล้องกับความต้องการ ของแต่ละพื้นที่
บุคลากรมีศักยภาพเป็นมืออาชีพ
บริการในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล
1.คลินิกฝากครรภ์
2. คลินิกเด็กดี และพัฒนาการเด็ก
3. คลินิกวัยรุ่น และให้คำปรึกษา
4. คลินิกวางแผนครอบครัว
5. คลินิกไร้พุง
6. คลินิกผู้สูงอายุ
7. การเยี่ยมบ้านหญิงตั้งครรภ์ ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ผู้สูงอายุ
8. อนามัยโรงเรียน
9. การทำแผนชุมชน กิจกรรมชุมชน พัฒนาชุมชน ชมรมสร้างสุขภาพ ชมรมผู้สูงอายุ ชมรมเด็กไทยทำได้
ประชาชนได้อะไร
- ความครอบคลุม (coverage) ของบริการขั้นพื้นฐานเพิ่มขึ้น
- การให้วัคซีน
- การฝากครรภ์ ครบตามเกณฑ์มาตรฐาน
- คุณภาพชีวิต (Quality of life) ของประชาชนดีขึ้น
- อัตราทารกตาย และ แม่ตายลดลง
- การเข้าถึงบริการสุขภาพของประชาชนในระดับตำบลดีขึ้น
—ลดความแออัดของโรงพยาบาลแม่ข่ายลง
—จำนวนผู้ป่วย ข้ามจากตำบลมาโรงพยาบาลอำเภอ/จังหวัดลดลง
—การนอนโรงพยาบาลจากโรคแทรกซ้อนหรือโรคป้องกันได้ลดลง
- มีการค้นพบผู้ป่วยโรคเรื้อรังรายใหม่เพิ่มมากขึ้น
- ภาวะแทรกซ้อนโรคเรื้อรังลดลง
- ผู้ป่วยโรคเรื้อรังมารับบริการจำนวนเพิ่มขึ้น (คน/ครั้ง)
- อัตราตายลดลง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น